โรคไวรัสตับอักเสบซี รู้เร็ว รักษาได้

beefhunt หาคู่

โรคไวรัสตับอักเสบซี รู้เร็ว รักษาได้

โรคไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี ส่งผลต่อตับโดยตรง และเป็นหนึ่งในชนิดของตับอักเสบจากไวรัส ในระยะแรก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ปัสสาวะสีเข้ม ปวดท้อง หรือดีซ่าน หากไม่ได้รับการรักษา ไวรัสตับอักเสบซีจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบซี

ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดที่ปนเปื้อน

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
  • การรับเลือดที่ไม่ผ่านการคัดกรอง (โดยเฉพาะก่อนปี พ.ศ. 2533)
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • การสักหรือเจาะร่างกายด้วยเข็มที่ใช้ร่วมกัน
  • การใช้สิ่งของส่วนตัวที่ปนเปื้อน (มีดโกน แปรงสีฟัน)

ไม่ติดต่อทาง

  • การกอด จูบ ไอ จาม
  • การรับประทานอาหารร่วมกัน
  • การสัมผัสทั่วไปที่ไม่ปนเปื้อนเลือด

โรคไวรัสตับอักเสบซี อาการ เป็นอย่างไร

โรคไวรัสตับอักเสบซีแบ่งอาการออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะตับอักเสบเฉียบพลัน

  • มักไม่มีอาการ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด ผิวหนังและตาเหลือง
  • ระยะนี้มักเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนหลังติดเชื้อ
  • ผู้ป่วยบางรายอาจหายจากโรคได้เอง แต่ส่วนใหญ่จะกลายเป็นเรื้อรัง

ระยะตับอักเสบเรื้อรัง

  • มักไม่มีอาการ หรือมีอาการคล้ายๆ ระยะเฉียบพลัน
  • ตับจะค่อยๆ ถูกทำลายอย่างช้าๆ
  • ระยะนี้กินเวลานานหลายปี (10-30 ปี)

หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา ตับสูญเสียการทำงาน เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ท้องมาน ขาบวม มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้

การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบซี

โรคไวรัสตับอักเสบซีสามารถตรวจวินิฉัยได้โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบซี (Anti-HCV) ตรวจหาแอนติบอดีในเลือด หรือ ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV RNA) ตรวจหา RNA ของไวรัสในเลือด

ผลการตรวจเป็นบวก

  • แสดงว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • แพทย์จะแนะนำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหา ระยะของโรค ความรุนแรงของโรค
  • แพทย์จะแนะนำการรักษาที่เหมาะสม

ผลการตรวจเป็นลบ

  • แสดงว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจซ้ำในบางกรณี

วิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซี

  • หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ใช้เข็มฉีดใหม่ทุกครั้ง สำหรับการเจาะร่างกาย หรือการสัก
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน
  • สวมถุงมือยางเมื่อสัมผัสเลือดของผู้อื่น
  • ตรวจคัดกรองเป็นประจำ

โรคไวรัสตับอักเสบซี รักษาอย่างไร?

โรคไวรัสตับอักเสบซี รักษา อย่างไร

ปัจจุบัน โรคไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ระยะเวลาการรักษา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของไวรัส ระยะของโรค สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 8 – 12 สัปดาห์ แต่บางกรณีอาจยาวนานถึง 24 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอหลังการรักษา เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หากคุณคิดว่าคุณอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสิ่งสำคัญ คือ ต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ และการรักษาอย่างถูกต้อง สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอย่าง ตับแข็ง มะเร็งตับได้

Search