ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี
Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
รู้จักยา PEP คืออะไร
Table of Contents
PEP ย่อมาจาก post-exposture prophylaxis หรือ ยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง
การทานยาเป็ป(PEP)
การทานยา เป็ป(PEP) จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งถ้าทานยาหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล
การทานยา เป็ป(PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี แต่ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้เป็นสาเหตุของผู้ทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด
สาเหตุที่ต้องรับยาเป็ป ( PEP )
ยาเป็ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน ในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และการรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด
ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป ( PEP )
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ HIV
- ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้
- มีความถี่ในการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ให้บริการทางเพศบ่อย
- มีการเข้ารับยาเป็ป (PEP) บ่อยครั้ง
- มีการตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
จะรับยาเป็ป ( PEP ) มีขั้นตอนอย่างไร
หากคุณมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV
- ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
- หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
- เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
- รับยากลับบ้าน
ยาเป็ป ( PEP ) ป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้กี่เปอร์เซ็นต์
การใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อ HIV หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อ HIV ทั้งสิ้น
ต้องกินยาเป็ป ( PEP ) นานแค่ไหน
การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV อีกครั้ง
ยาเป็ป ( PEP ) ฟรี
การรับยา PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา
ยาเป็ป ( PEP ) ซื้อที่ไหน
อย่างแรกก่อนการรับยาเป๊ป คุณจะต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียก่อน เป็นการยืนยันผลว่าคุณไม่ได้มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว เพราะถ้าหากคุณมีเชื้อเอชไอวี จะไม่สามารถใช้ยาเป๊ปได้ รวมถึงมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย การทานยาต้านฉุกเฉินนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อทานได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์
ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ ยาเป็ป ( PEP )ได้ตลอดไหม
ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HIV จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
- ยา PEP (เป๊ป) ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน hiv คืออะไร ? อันตรายไหม ? https://www.bangkoksafeclinic.com/th/pepเป็บ/