เริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้ว่าแผลเริมจะหายแล้วแต่เชื้อไวรัสเริม ก็ยังคงซ่อนอยูบริเวณประสาท และจะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงทำให้การรักษาเริมโดยส่วนใหญ่เน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผล และการควบคุมความรุนแรงของอาการ
เริม คืออะไร ?
Table of Contents
เริม (HSV) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจาก เชื้อไวรัส Herpes simplex หรือ HSV ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกับงูสวัด และอีสุกอีใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำบนผิวหนังได้คล้ายๆกัน เชื้อไวรัส HSV มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
- HSV-1 มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
- HSV-2 ทำให้เกิดแผล (cold sore) บริเวณริมฝีปาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ผู้ป่วยที่เป็นเริมริมฝีปาก จะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 20-40 ส่วนเริมที่อวัยวะเพศจะมีอัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 80 ปัจจัยที่กระตุ้นเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับแสงแดด ไข้ การมีประจำเดือน ความเครียด การเกิดเป็นซ้ำจะมีอาการน้อยกว่าและหายเร็วกว่าการเกิดเป็นครั้งแรก
อาการของ เริม
อาการของเริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศนั้นค่อนข้างคล้ายกัน โดยจะมีตุ่มน้ำใสบริเวณที่ติดเชื้อ ได้แก่ ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก บั้นท้าย หรือต้นขา มีอาการเจ็บปวด แสบที่บริเวณแผล หากเป็นการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการค่อนข้างรุนแรงและหายช้า แต่ถ้าหากเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เร็วกว่า
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ ?
- มีตุ่มพอง ลุกลามมาก
- เริ่มมีอาการทางดวงตา เช่น เจ็บตา เคืองตา น้ำตาไหล
- ไข้สูง ไข้ไม่ลดภายใน 1 – 3 วัน (ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ)
- มีตุ่มน้ำเป็นหนอง ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา
การป้องกัน เริม
วิธีการป้องกันเริม คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ของใช้ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงอย่างการหอมแก้ม และการจูบ นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยางอนามัย ก็สามารถช่วยป้องกันการติดเริมได้
การรักษา เริม
เริมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วการรักษาโรคเริมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- การบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยแพทย์อาจสั่งยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งแผลจากโรคเริมจะสามารถหายเองได้ภายในเวลา 2-6 สัปดาห์
- การควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส แพทย์มักจะสั่งใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และช่วยลดความรุนแรงของอาการ
การดูแลรักษาระหว่างเป็น เริม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- แยกของใช้ เครื่องใช้ ส่วนตัว รวมทั้งแก้วน้ำและช้อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
- รักษาความสะอาดบริเวณตุ่มพอง
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
- ในรายที่เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศ ควรสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงในที่หลวมสบาย
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ช่วงที่เป็นเริม
- กินยาบรรเทาปวด พาราเซตามอล และยาบรรเทาอาการคัน โดยปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาเองเสมอช
ขอบคุณข้อมูล : paolohospital ,pobpad