เมื่อเพศเป็น ‘เรื่องห้ามพูด’ แอฟริกาหันมาให้ความรู้เพศศึกษาผ่านแอปฯ

ความรู้เรื่องเพศศึกษา และการคุมกำเนิด ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมไม่พูดกันอย่างเปิดเผย หวังลดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ การเสียชีวิตจากการทำแท้ง และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอด

beefhunt หาคู่

ผู้ประกอบการชาวแอฟริกาต่างพยายามพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ เพื่อให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา และการคุมกำเนิด ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมไม่พูดกันอย่างเปิดเผย หวังลดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ การเสียชีวิตจากการทำแท้ง และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกคลอด เมื่อครั้งชาร์ลส์ อิมมานูเอล อะคีเมียน (Charles Immanuel Akhimien) ยังเป็นนักศึกษาแพทย์อยู่ เพื่อนร่วมชั้นของเขาต้องเสียชีวิตจากการทำแท้งเถื่อน

“ชีวิตของหญิงสาวคงไม่ต้องจบลงแบบนี้ หากเธอมีแอปพลิเคชันที่ให้ข้อมูลเรื่องเพศอย่างถูกต้องเหมือนทุกวันนี้ การขาดการให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ความสำคัญของการตรวจ HIV นำมาซึ่งการติดเอดส์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากขึ้นเรื่อยๆ เราเลี่ยงไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมเหล่านี้ได้นะ” อะคีเมียนกล่าว

จากข้อมูลของทางการ ในประเทศไนจีเรียที่อะคีเมียนอาศัยอยู่นั้น มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีราว 3.1 ล้านคน และมีสตรีเสียชีวิตจากการทำแท้งอย่างไม่ถูกต้องถึง 34,000 คน มายแพดดิ (myPaddi) แอปพลิเคชันที่อะคีเมียนพัฒนา ช่วยเชื่อมต่อเยาวชนกับแพทย์ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเซ็กส์ และการคุมกำเนิดได้ โดยเยาวชนไม่จำเป็นต้องเปิดเผยว่าตัวเองเป็นใคร โดยแอปฯ นี้เป็นหนึ่งใน 30 นวัตกรรมที่จัดแสดงในงาน Africa Health Forum ซึ่งจัดโดยองค์การอนามัยโลก ซึ่งจัดที่กรุงไปรอา เมืองหลวงของ กาบูเวร์ดี (Cabo Verde) ในแอฟริกาตะวันตก

แอปฯ ได้รับเลือกจากกว่า 2,400 แอปฯ ที่ส่งให้พิจารณา แอปฯ จำนวนมากมุ่งสื่อสารเรื่องการสืบพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศในประเทศ ซึ่งเพศศึกษาเป็นเรื่องต้องห้าม และการยุติการตั้งครรภ์ยังคงผิดกฎหมาย

โมเรนิเค ฟาจีมิซิน (Morenike Fajemisin) เพื่อนร่วมชาติของอะคีเมียนเองก็มีจุดหมายเดียวกันกับเขาในการแก้ปัญหาการขาดความรู้เพศศึกษาในไนจีเรีย และช่วยให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ควบคุมร่างกายของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง

เภสัชกรหญิงวัย 30 ปีคนนี้ พัฒนาแอปฯ มือถือชื่อ วิสปา (Whispa) ซึ่งแนะนำว่าผู้หญิงจะหาอุปกรณ์คุมกำเนิดอย่างนิรนาม ไม่ต้องเผชิญกับการซักถามโดยละเอียด

“หากหญิงสาวจะขอยาคุมจากแพทย์ หรือเภสัชกร พวกเธออาจถูกซักไซ้ และสั่งสอนว่าเด็กเกินไปหรือเปล่า ยังพรหมจรรย์อยู่ไหม นอนกับผู้ชายมากี่คน” ฟาจีมิซิน กล่าว พร้อมกับเสริมว่า คำถามคุกคามเหล่านี้เป็นกำแพงกีดกันผู้หญิง ซึ่งอาจกลัวที่จะเล่าเรื่องเซ็กส์ให้แพทย์ฟังไม่ให้เข้าถึงการคุมกำเนิด แอปฯ มือถือแก้ปัญหาได้ เนื่องจากแอปฯ ไม่มีอคติแบบมนุษย์

ความต้องการมีบุตรซึ่งแพร่หลายในแอฟริกาเอง ก็มีแอปฯ หลายแอปฯ ที่ปรับตัวให้ความรู้อย่างสอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่นแอปฯ แอฟริมัม (Afrimom) และมายเพรกแนนซีเจอร์นีย์ (My Pregnancy Journey) ซึ่งพัฒนาโดยแจคเกอลีน โรเจอร์ส (Jacqueline Rogers) ผู้ประกอบการเพื่อสังคมชาวแอฟริกาใต้

แอปฯ ของโรเจอร์ส ซึ่งกำลังจะออกมาในเดือนเมษายน ให้คำแนะนำกับว่าที่คุณแม่ทั้งหลายว่า ในแต่ละสเต็ปแต่ละเดือนนั้น พวกเธอจะต้องเผชิญกับอาการอย่างไรบ้างขณะตั้งครรภ์

“ฉันอยากให้ผู้หญิงชาวแอฟริกาเข้าถึงทุกความรู้ที่เป็นไปได้เกี่ยวกับการตั้งท้องของพวกเธอ และส่งอิทธิพลกับค่านิยมความเป็นแม่ในแง่บวกในแอฟริกา” โรเจอร์ส กล่าวและชี้ว่า ในแอฟริกานั้น มีความต้องการข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องสูงมาก สอดคล้องกับที่ มัตชิดิโซ โมอิติ ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ชี้ว่า 9 ประเทศจาก ท็อป 10 ประเทศที่ทารกเกิดใหม่มีโอกาสเสียชีวิตสูงสุดนั้นอยู่ในทวีปแอฟริกา และครึ่งหนึ่งของเด็กที่เสียชีวิตก่อน 5 ขวบอาศัยในแอฟริกาใต้เขตตอนใต้ทะเลทรายซาฮาร่า

ขอบคุณข่าวจาก: Voice TV

Search