“หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคอื่นๆ

beefhunt หาคู่

หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคเอื่นๆ

หูดหงอนไก่ เป็นหูดที่พบได้บ่อยบริเวณอวัยวะเพศ โดยเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จัดว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยที่กำลังเจริญพันธุ์ คือ ช่วงอายุ 17 – 33 ปี ทั้งชายและหญิง ปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์ของไวรัส HPV ได้ประมาณ 100 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดหูดที่บริเวณผิวหนัง บางสายพันธุ์ก็อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ส่วนบางสายพันธุ์ก็จะเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ อาทิ มะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย

อาการหูดหงอนไก่

ลักษณะอาการของหูดหงอนไก่ คือ เป็นติ่งเนื้อสีชมพูหรือขาว ผิวขรุขระเป็นหยักคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ บริเวณที่พบส่วนมากจะเป็นบริเวณปากช่องคลอด รองลงมาคือที่แคมคลิตอริส รอบทวารหนัก ผนังช่องคลอด และปากมดลูก ในขณะที่บางรายมีเลือดออกจากก้อน คัน ตกขาวผิดปกติ หรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่จะสามารถขยายจำนวนได้โดยได้รับการกระตุ้นจากความร้อน ความชื้น ในระยะเริ่มต้น เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อ หรือติดเชื้อ HPV ผ่านทางรอยถลอกที่ผิวหนัง ก็จะมีระยะฟักตัวของเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่งเป็นเวลาหลายเดือน หรืออาจจะหลายปี ซึ่งเมื่อผ่านระยะฟักตัวมาแล้ว เชื้อไวรัสก็จะมีการแบ่งตัวให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การสร้างเซลล์ในชั้นผิวหนังเกิดความผิดปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้เอง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ หากว่าเผลอไปติดไวรัสที่เป็นสายพันธุ์รุนแรงเข้าก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในตำแหน่งที่ติดเชื้อได้

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็น หูดหงอนไก่

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็น หูดหงอนไก่

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • การติดต่อจากแม่ไปสู่ลูกในระหว่างการคลอด

จะป้องกัน หูดหงอนไก่ ได้อย่างไร ?

ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่มียาที่รักษาและช่วยป้องกันหูดหงอนไก่ได้อย่าง 100% ซึ่งเป็นเพราะว่าโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ จากผิวหนังสู่ผิวหนัง หากมีคู่นอนหลายคน โอกาสที่จะติดเชื้อก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากต้องมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยป้องกันอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เป็นการป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ด้วย และอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันหูดหงอนไก่นั่นก็คือ “การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV” 

ในปัจจุบันมีวัคซีน HPV ที่ป้องกันการเกิดโรคหูดหงอนไก่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ และ วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนักอีกด้วย

การรักษาหูดหงอนไก่

ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวน และตำแหน่งของหูดหงอนไก่ โดยแพทย์และผู้ป่วยเป็นผู้พิจารณาเลือกการรักษา ดังนี้

  • การใช้ยาทา เช่น Podophylin, Imiquimod
  • การจี้ด้วยความเย็น
  • การผ่าตัด

เมื่อเป็น หูดหงอนไก่ ดูแลตัวเองอย่างไร ?

  • ติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่ทำการรักษา
  • ควรพาคู่นอนมาทำการตรวจและรักษาด้วยเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
  • หากมีการสัมผัสรอยโรค ก็ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
  • รักษาความสะอาดด้วยการล้างมือโดยใช้เจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานอย่างเคร่งครัด

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Search