สังคมไทยยังมองผู้ติดเชื้อเอชไอวีในแง่ลบ

กรมควบคุมโรค และจุฬาฯ เผยผลโพลล์สังคมไทย สะท้อนว่า
สังคมยังมีการกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปัญหาความรู้ความเข้าใจของการติดต่ออาการของโรค

beefhunt หาคู่

สังคมไทยยังมองผู้ติดเชื้อเอชไอวีในแง่ลบ


กรมควบคุมโรค และจุฬาฯ เผยผลโพลล์สังคมไทย สะท้อนว่า สังคมยังมีการกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปัญหาความรู้ความเข้าใจของการติดต่ออาการของโรค

นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการที่กรมร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน (ddc poll) ครั้งที่ 1 เรื่อง “การตีตราและกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในสังคมไทย” จำนวน 2,057 คน จาก 21 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ ระหว่างวันที่ 4-7 พฤศจิกายน 2556 พบว่า ร้อยละ 61.9 เห็นควรให้มีการบังคับตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนสมัครเรียน ร้อยละ 57.7 ก่อนการบวช และร้อยละ 73.1 ก่อนสมัครเข้าทำงาน ร้อยละ 50.6 ไม่ยินดีว่ายน้ำในสระเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ ร้อยละ 27.5 ไม่ยินดีอยู่ร่วมบ้านกับคนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ร้อยละ 30.6 ไม่ยินดีรับประทานอาหารกับคนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ร้อยละ 27.4 ไม่ยินดีรับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนสนิทที่ติดเชื้อ

นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า ร้อยละ 33.3 ไม่ยินดี ให้ลูกเรียนร่วมชั้นกับเด็กที่ติดเชื้อ ร้อยละ 42.5 ไม่ยินดีให้ลูกเล่นกับเด็กที่มีเชื้อ ร้อยละ 46.4 ไม่ยินดีใช้ห้องน้ำร่วมกับคนผู้ป่วยเอดส์ ร้อยละ 17.5 ไม่ยินดีดูแลคนในครอบครัวที่ป่วยเอดส์ด้วย ตนเอง และร้อยละ 63.1 จะไปตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อหากมีบริการตรวจฟรีในห้างสรรพสินค้า

นอกจากนี้ยังพบว่า เพศหญิงรังเกียจผู้ป่วยเอดส์ที่แสดงอาการแล้วมากกว่าเพศชาย คนอายุ 15-30 ปี รังเกียจผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยมากกว่ากลุ่มอื่น ประชาชนที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ ปวช.หรือมัธยมศึกษาลงมารังเกียจผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยมากกว่ากลุ่มการศึกษาอื่น และประชาชนที่มีคนในครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้วจะรังเกียจมากกว่ากลุ่มที่มีเพื่อนสนิทหรือคนรู้จักติดเชื้อหรือป่วย

ผลการสำรวจสะท้อนว่า สังคมยังมีการกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปัญหาความรู้ความเข้าใจของการติดต่ออาการของโรค ผลการรักษา และการอยู่ร่วมกันในสังคมของคนไทยต่อโรคเอดส์ที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเป็นระบบและจริงจังต่อไป ซึ่งจะต้องเดินหน้า 4 มาตรการ คือ

  1. การเข้าถึงการป้องกันอย่างผสมผสาน
  2. รักษาผู้ติดเชื้อทุกคนด้วยยาต้านไวรัสแม้ภูมิต้านทานยังไม่ต่ำ
  3. ดูแลรักษาต่อเนื่อง
  4. ปรับภาพลักษณ์ด้านเอดส์เป็นโรคเรื้อรังและอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: สสส.

Search