กิจกรรมทางเพศไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางทวาร ทางปาก ผิวหนังอวัยวะเพศกับผิวหนัง ล้วนสามารถส่งต่อเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งนั้น เช่น โรคเอดส์ โรคหนองใน ซิฟิลิส โรคติดเชื้อคลามีเดีย และโรคไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื้อโรคนั้นสามารถติดต่อกันได้หลายทาง เช่น ผ่านทางน้ำอสุจิ ผ่านทางเลือด โดยเฉพาะการมีอะไรกันทางทวาร มักจะก่อให้เกิดแผลถลอกเล็กน้อย มีเลือดออกแบบไม่รู้ตัว และไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ท่าไหน ท่าง่าย ท่ายาก ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้หมด ถ้าเราหรือคู่นอนเกิดติดโรคทางเพศสัมพันธ์ขึ้นมา
โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งฝ่ายรุก และรับ และเกิดได้ทั้งชาย และหญิงแต่อาจจะเกิดอาการของโรคในบริเวณที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันไปเช่น
- โรคเริม ซิฟิลิส และ HPV สามารถติดต่อกันทางการสัมผัสผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศกับผิวหนังได้ ทั้งชายและหญิง
- เชื้อ HPV คือเชื้อที่ก่อมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ถึงผู้ชายจะไม่มีปากมดลูก ก็สามารถก่อให้เกิดมะเร็งรูทวาร และหูดหงอนไก่ได้แทน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงออกมาอย่างชัดเจน ทำให้เราหรือคู่ของคุณอาจจะติดโรคเพศสัมพันธ์ ตอนไหนมาไม่ทราบแน่ชัดได้ จนกว่าจะมีการตรวจเลือด หรือตรวจร่างกาย หลังรู้ว่ามีความเสียงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์หรือปรึกษาแพทย์ตามอาการของโรคที่เริ่มปรากฎขึ้นมาเพื่อทำการรักษาต่อไป
โดยบางโรคก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น ซิฟิลิส คลามีเดีย หนองใน แต่บางโรค เช่น โรคเอดส์ โรคเริม รักษาไม่หายขาดได้ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำหากมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ นอกจาการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แล้วการตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำ หากมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็จะได้รักษา และป้องกันไม่ให้ไปติด หรือแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ เช่น
- ควรจะตรวจเอดส์ปีละครั้งเป็นอย่างน้อย ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี ซี
- ถ้าเป็นฝ่ายรับ ควรจะตรวจ โรคคลามีเดีย หนองใน ที่รูทวาร
- ถ้าเป็นฝ่ายรุก ควรจะตรวจ โรคคลามีเดีย และหนองใน ที่ท่อปัสสาวะ
- ถ้าเป็นฝ่ายใช้ปาก ควรจะตรวจ โรคหนองในที่คอ
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ บี และ HPV
- การมี Safe Sex หรือมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย
- การจำกัดจำนวนคู่นอนของเรา ด้วยการรักเดียวใจเดียว ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ด้วย
การมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเพศไหนกับเพศไหนมันก็เสี่ยงเหมือน ๆ กันหมด ขึ้นอยู่กับว่าจะเสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย ถ้าเราดูแลใส่ใจสุขภาพของเรา ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ป้องกันทุกครั้ง ชีวิตจะยืนยาวและปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ฝ่ายรุก หรือฝ่ายรับใครเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากัน?
Table of Contents
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรุก หรือฝ่ายรับ ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณสารคัดหลั่งที่สัมผัส เช่น เลือด และสารคัดหลั่งที่มีเลือดปนจะมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวีมากที่สุด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ น้ำคร่ำ น้ำในช่องคลอด ส่วนที่มีความเป็นไปได้น้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่มีเลยคือ น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก และเสมหะ ถ้าไม่ได้มีเลือดปนอยู่ด้วย
ฝ่ายรุก หรือฝ่ายรับมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสเชื้อในแต่ละครั้งมากน้อยเพียงใดได้ดังนี้
- การรับเลือด (1 ยูนิต) 92.5 %
- การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน 0.67-0.80 %
- ฝ่ายรับทางทวารหนัก 1-30%
- ฝ่ายรุกทางทวารหนัก 0.1-10%
- ฝ่ายรับทางช่องคลอด 0.1-10%
- ฝ่ายรุกทางช่องคลอด 0.1-1%
- ฝ่ายรับทางปาก (การทำออรัลกับอวัยวะเพศชาย) 0-0.04%
- ฝ่ายรุกทางปาก (การถูกออรัลอวัยวะเพศชาย) 0-0.005%
- การใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิง มีโอกาสแต่น้อยมากๆๆ
- เข็มที่มีเลือดติด ตำเข้าผิวหนัง 0.3%
- เยื่อบุ 0.09%
โดยมีการประมาณว่าโอกาสถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก สูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดถึง 18 เท่า
การประมาณความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ของคู่รัก ในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
นอกจากจะเป็นคู่ชายรักชายแล้ว ปัจจุบันพบว่าคู่รักชายหญิงก็มีรสนิยมทางเพศทางทวารหนักด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวเลขของฝ่ายรับไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวี
- การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรับ): 1.38%
เป็นช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีที่มีความเสี่ยงที่สุดรองจากการเปลี่ยนถ่ายเลือด แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับในกิจกรรมครั้งนั้นด้วย โดยคนที่เป็นฝ่ายรับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ามาก เนื่องจากผิวหนังในทวารหนักนั้นบางกว่าผิวหนังของอวัยวะเพศชาย ดังนั้นความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงมากกว่าด้วย โดยการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีโดยเป็นฝ่ายรับ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 138 ครั้งจากทุก 10,000 ครั้ง หรือประมาณ 1.38% - การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (ฝ่ายรุก): 0.11%
เป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าการมีเซ็กส์แบบปกติ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยเป็นฝ่ายรุก โดยมีโอกาสที่จะติดเชื้อเอชไอวี 11 ครั้งจากทุกๆ 10,000 ครั้ง หรือเท่ากับ 0.11% อย่างไรก็ตาม
การเป็นฝ่ายรุกยังถือว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าการเป็นฝ่ายรับนับสิบเท่า
การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด
- การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ผู้หญิง): 0.08%
ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากช่องคลอดของเพศหญิงจะสัมผัสกับน้ำอสุจิของผู้ชายนานกว่า หากเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่อวัยวะเพศชายต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งในอวัยวะเพศหญิง ดังนั้นจึงทำให้ในทุกๆ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางปกติ 10,000 ครั้ง ผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 8 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.08% - การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด (ผู้ชาย): 0.04%
ในการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้หญิง เนื่องจากระยะเวลาที่อวัยวะเพศชายสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้หญิงนั้นสั้นกว่าโดยเปรียบเทียบ (เทียบกับกรณีที่ช่องคลอดของผู้หญิงต้องสัมผัสกับน้ำอสุจิของเพศชาย) ดังนั้นจึงทำให้ทุกการมีเพศสัมพันธ์แบบนี้ 10,000 ครั้ง ผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี 4 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.04%
การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
การมีเพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้มีแค่ทางช่องคลอดและทางทวารหนักเท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมรักทางปากได้ด้วย ซึ่งความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรับ หรือฝ่ายรุกนั้น แต่มีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างต่ำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงนั้น คือ ศูนย์ เพราะโอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งจะติดเชื้อเอชไอวี จากการทำออรัลเซ็กส์นั้นน้อยมาก ทั้งจากสภาวะภายในปากของคนเอรานั้นเอง ที่เชื้อเอชไอวีไม่สามารถอยู่อาศัยได้ รวมถึง ความหนาของผิวหนังในปาก และคอที่หนากว่าที่อวัยวะเพศ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพร่เชื้อเอชไอวีผ่านออรัลเซ็กส์มีน้อยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรุก หรือ ฝ่ายรับ
การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน
มีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างต่ำมาก ซึ่งหน่วยงานด้านการควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้จัดให้การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน ไม่เป็นสาเหตุของการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี โดยจัดระดับความเสี่ยงไว้ว่า “negligible” นั่นคือน้อยมากจนแทบไม่มีนัยสำคัญ
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
- “รุก” หรือ “รับ” ฝ่ายไหนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากัน https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/รุก-หรือ-รับ-ฝ่ายไหนเสี่/
- รุกหรือรับ ใครเสี่ยงกว่า? http://buddystation.ddc.moph.go.th/รุกหรือรับ-ใครเสี่ยงกว่/
- ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสเชื้อในแต่ละครั้งมีโอกาสเสียงมากน้อยเพียงใด
https://th.trcarc.org/ความเสี่ยงในการติดเชื้/ - กิจกรรมเหล่านี้ เสี่ยงติดเชื้อ HIV แค่ไหน? https://workpointtoday.com/hiv-chances/
ฝ่ายรุก-รับควรตรวจอะไรบ้าง http://buddystation.ddc.moph.go.th/lgbt056