การให้คำปรึกษาเพื่อเอชไอวี

เป็นกระบวนการที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตรวจเลือดและผู้ให้บริการ
โดยการป้อนข้อมูลสำคัญต่างๆ เพื่อให้ผู้ตรวจได้เข้าใจ
วางแผน และปรับตัวเข้ากับสภาวะการณ์ที่เป็นอยู่

beefhunt หาคู่

การให้คำปรึกษาเพื่อ
ตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี


เป็นกระบวนการที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตรวจเลือดและผู้ให้บริการ โดยการป้อนข้อมูลสำคัญต่างๆ เพื่อให้ผู้ตรวจได้เข้าใจ วางแผน และปรับตัวเข้ากับสภาวะการณ์ที่เป็นอยู่ ณ
ขณะนั้น การให้คำปรึกษาหรือวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี ต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ผู้ตรวจเองก็จะต้องเต็มใจเข้ารับการบริการโดยสมัครใจ และมีการเซ็นชื่อในเอกสารแสดงความยินยอมทุกครั้งก่อนการตรวจ ทั้งนี้ ข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นความลับกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานพยาบาลนั้นๆ และผู้ตรวจ ยกเว้น ในกรณีการตรวจรูปแบบนิรนาม (ไม่เปิดเผยชื่อ)

ในการให้คำปรึกษานั้นจะมีการพูดคุยระหว่างผู้ตรวจเลือดทั้งก่อนและหลังการตรวจเชื้อเอชไอวีทุกครั้ง หลังจากตัดสินใจตรวจเลือดเสร็จแล้ว เมื่อทราบผลเลือดเอชไอวีเป็นผลเลือดลบ เจ้าหน้าที่จะให้คำปรึกษาต่อเนื่อง ในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ที่ควรป้องกันหรืออื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความกังวลใจว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ หากผลเลือดบวก เจ้าหน้าที่จะทำการส่งต่อและสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาและยาต้านไวรัสในขั้นตอนต่อไป ในการแจ้งผลเลือดนั้น จะต้องบอกกล่าวกันเป็นการส่วนตัวเท่านั้น ไม่ควรแจ้งผลทางอื่น เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ ข้อความ หรือวานผู้อื่นบอก เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะได้มั่นใจได้ว่าผู้ตรวจได้ทราบผลและข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามผลตรวจเลือดจริง และเป็นการรักษาความลับของผู้ตรวจเลือดอย่างเคร่งครัด แม้แต่ญาติหรือเพื่อนสนิทก็ไม่ควรเอ่ยผลเลือดให้ทราบ ยกเว้นผู้ตรวจเลือดจะอนุญาติหรือต้องทำหน้าที่ตามกระบวนกฎหมายบังคับ

การให้คำปรึกษาเพื่อตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

  1. ผู้ตรวจเลือดเป็นคนที่สนใจอยากตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยตัวเอง
  2. ผู้ให้บริการเป็นคนเสนอหรือเชิญชวนให้คนเข้ามาตรวจเลือด

ซึ่งมีทั้งการรู้ผลตรวจภายในวันเดียว หรือรอผลตรวจตามระยะเวลาและประเภทที่ทำการตรวจ โดยสถานที่ตรวจเหล่านี้จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง และพร้อมดำเนินงานได้อย่างมืออาชีพ ทั้งนี้ในขั้นตอนการให้คำปรึกษาก่อนเซ็นยินยอมเอกสารผู้ตรวจเลือด และผู้รับบริการสามารถเลือกปฎิเสธไม่ทำการตรวจได้ทุกเมื่อหากมีเหตุจำเป็น

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย

Search